เทศบาลตำบลกุดน้ำใสตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม เพื่อให้ประชาชนเห็นคุณค่าของประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว และใหเกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่าย เสริมสร้างความสามัคคีจึงได้จัดทำโครงการลงแขกเกี่ยวข้าวขึ้น และเริ่มเมื่อ15-22พฤศจิกายน 2550ที่ผ่านมา งานส่งเสริมการเกษตรจึงสรุปผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้...
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา 19.15 น. ประชุมผู้เข้าร่วมโครงการลงแขกเกี่ยวข้าวเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชา ณ ศาลากลางบ้านกุดน้ำใส โดย นายสะอาด อุลานันท์ กำนันตำบลกุดน้ำใส เป็นประธานในที่ประชุม นายเชษฐ์ อัครจรรยา หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลกุดน้ำใส ชี้แจงวิธีการดำเนินโครงการฯ เทศบาลตำบลกุดน้ำใส ได้จัดให้มีการรับ – ส่ง ผู้เข้าร่วมโครงการฯทุกวัน และมีการจัดสรรเครื่องดื่มให้อย่างพอเพียงในแต่ละวันที่ดำเนินการ โดยจัดให้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ลงแขกเวียนกันวันละ 1 ราย และจับฉลากเพื่อเรียงลำดับ ก่อน – หลัง ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ประกอบไปด้วย
1. นายอุทัย ถาวงษ์กลาง ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 15 พฤศจิกายน 2550
2. นางพุทธา คนซื่อ ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 16 พฤศจิกายน 2550
3. นายปิ่นทอง คำพิมพ์ ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 17 พฤศจิกายน 2550
4. นายสะอาด อุลานันท์ ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 18 พฤศจิกายน 2550
5. นางอุทิศ รัตนเนตร ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 19 พฤศจิกายน 2550
6. นางทองปาน มาตุลี ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 20 พฤศจิกายน 2550
7. นางลำไพ ผุยโสภา ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 21 พฤศจิกายน 2550
กลุ่มที่ 2 ประกอบไปด้วย
1. นายเสถียร แสนสาระ ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 15 พฤศจิกายน 2550
2. นางลำไพ โชติสุวรรณ ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 16 พฤศจิกายน 2550
3. นายสมพร นามแสง ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 17 พฤศจิกายน 2550
4. นายสุธิน ศรีชุม ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 18 พฤศจิกายน 2550
5. นางสมพันธ์ นามแสง ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 19 พฤศจิกายน 2550
6. นายคำพันธ์ อ่อนสีชัย ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 20 พฤศจิกายน 2550
7. นายคำปน ยศปัญญา ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 21 พฤศจิกายน 2550
8. นางสังวาล แอบอิง ลงแขกเกี่ยวข้าววันที่ 22 พฤศจิกายน 2550
นอกจากนี้ทางผู้เข้าร่วมโครงการฯ ยังได้กำหนดระเบียบโครงการฯ ดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องเข้าร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวทุกวัน
2. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ไม่สามารถเข้าร่วมได้ สามารถให้บุคคลอื่นมาแทนได้ แต่ห้ามจ่ายเป็นเงินค่าจ้าง
3. ขึ้นรถรับเวลา 07.30 น. ณ ศาลากลางบ้านกุดน้ำใส
4. พักรับประทานอาหารกลางวันเวลา 12.00 น. – 13.00 น.
5. เลิกเกี่ยวข้าวเวลา 17.00 น.
6. เมื่อลงแขกเกี่ยวข้าวครบทุกรายแล้ว หากมีการว่าจ้างกันต่อต้องจ้างในราคา 150 บาท/วัน
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 5,000 บาท มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. น้ำแข็ง เป็นเงิน จำนวน 900 บาท
2. อุปกรณ์และเครื่องมือ เป็นเงิน จำนวน 500 บาท
งบประมาณจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นคงเหลือ 3,750 บาท ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้นโยบายว่าให้จัดซื้ออุปกรณ์ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในโครงการฯ 5,398 บาท
1. กลุ่มที่ 1 ค่าจ้างแรงงานเกี่ยวข้าววันละ 180 บาท เป็นเวลา 8 วัน จำนวน 8 คน เป็นเงิน 11,520 บาท
2. กลุ่มที่ 2 ค่าจ้างแรงงานเกี่ยวข้าววันละ 180 บาท เป็นเวลา 7 วัน จำนวน 7 คน เป็นเงิน 8,820 บาท
รวมประหยัดค่าจ้างแรงงานเป็นจำนวน 20,340 บาท
3. กลุ่มที่ 1 ค่าขนส่งคนงานเกี่ยวข้าววันละ 400 บาท เป็นเวลา 8 วัน เป็นเงิน 3,200 บาท
4. กลุ่มที่ 1 ค่าขนส่งคนงานเกี่ยวข้าววันละ 400 บาท เป็นเวลา 7 วัน เป็นเงิน 2,800 บาท
รวมประหยัดค่าขนส่งคนงานเกี่ยวข้าวเป็นเงิน จำนวน 6,000 บาท
เกษตรกรประหยัดรายจ่ายค่าจ้างแรงงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆรายละ 1,756.-บาทต่อวัน/ราย